วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำประสม-คำซ้ำ-คำซ้อน





































คำประสม คำซ้อน คำซ้ำ

การสร้างคำ คือ การเอาคำมาแต่งงานกัน เช่น ลูก+เหม็น=ลูกเหม็น ซึ่งความหมายจะเปลี่ยนไป จึงถือว่าเป็นคำประสม

คำประสม คือการนำเอาคำมูลมาประสมกันให้เกิดความหมายใหม่
เช่น พ่อครัว ลูกไม้ น้ำตาล ใจแตก ใจหิน คอแข็ง ใจดี ติดดิน
กล้วยแขก (กล้วยดิบเป็นวลีไม่ใช่คำประสม) ลูกเสือ (คือลูกเสือเนตรนารี ไม่ใช่ลูกของเสือที่เป็นกลุ่มคำ)

เพิ่ม : การ+กริยา และ ความ+กริยา/วิเศษณ์ = คำ ไม่ใช่คำประสม

คำซ้อน คือการนำคำที่มีความหมายเหมือน ใกล้เคียง หรือตรงข้ามกัน มาซ้อนกันเพื่อให้เกิดความหมายใหม่ที่ใกล้เคียงกับความหมายเดิม
คำซ้อนมีสองชนิด คือซ้อนเพื่อความหมายกับซ้อนเพื่อเสียง

คำซ้อนเพื่อความหมาย คือเอาคำมูลที่มีความหมายเหมือน คล้าย ตรงข้ามมาซ้อนกัน
คำที่ความหมายเหมือนกันมาซ้อนกัน เช่น ใหญ่โต เล็กน้อย ดีเยี่ยม ว่างเปล่า
คำที่ความหมายคล้ายกันมาซ้อนกัน เช่น หน้าตา ถ้วยชาม ข้าวปลา
คำที่ความหมายตรงข้ามมาซ้อนกัน เช่น ชั่วดี ผิดถูก ร้ายดี ช้าเร็ว

คำซ้อนเพื่อเสียง คือเอาคำมูลที่มีความหมายและเสียงใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน พื่อให้เกิดเสียงที่คล้องจองกัน
คำที่มีความหมายและเสียงใกล้เคียงกันมาซ้อน เช่น ก่อเกิด เก่งกล้า ขับขี่ ค้างคา
คำที่มีเสียงคล้ายคำที่เป็นคำหลัก ไม่มีความหมาย เช่น โยกเยก ชิงชัง เตลิดเปิดเปิง

คำซ้ำ คือการเอาคำมาซ้ำเสียงกัน โดยอาจใช้ไม้ยมกแทนคำที่ซ้ำ
เช่น เด็กๆ เพื่อนๆ ไปๆมาๆ สดๆร้อนๆ งูๆปลาๆ
ซึ่งคำซ้ำอาจซ้ำเพื่อบอกความหมายเป็นพหูพจน์ เช่น เด็กๆ
บอกความไม่เจาะจง เช่น ดำๆ อ้วนๆ ริมๆ แถวๆ
บอกเหตุการณ์ที่ต่อเนื่อง เช่น ปรอยๆ หยิมๆ
บอกการเน้นความหมายโดยใช้เสียงสูง เช่น ดี๊ดี ซ๊วยสวย หล๊อหล่อ
บอกความหมายใหม่ เช่น งูๆปลาๆ คือ รู้เพียงเล็กน้อย
ส่งๆ คือทำอย่างไม่ตั้งใจ
กล้วยๆ คือ ง่ายมาก
ลวกๆ คือ ทำอย่างรีบร้อน

ผู้ติดตาม